งานวิจัยด้านเคมีเชิงคำนวณ (Computational chemistry)

งานวิจัยในด้านเคมีเชิงคำนวณ (Computational Chemistry) ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำการวิจัย โดยใช้ในการทำแบบจำลองโมเลกุลเพื่อช่วยในการออกแบบหรืออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในการทดลองหลากหลายประเภท

– การออกแบบยา (Drug design) และทำนายการเข้ายึดจับของโมเลกุลยาในตำแหน่งกัมมันต์ (active site) ของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับโรคที่ต้องการศึกษา โดยใช้เทคนิค Molecular docking และ Molecular dynamics

– การใช้แบบจำลองโมเลกุลในการศึกษาการยึดจับกันระหว่างโมเลกุลของเซ็นเซอร์กับไอออนของโลหะหนัก ซึ่งจะช่วยในการออกแบบเซ็นเซอร์ชนิดใหม่ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงในการดักจับไอออนโลหะหนัก โดยใช้เทคนิค Geometry optimization

– การใช้เทคนิค Molecular dynamics ในการศึกษาการเกิด In situ forming matrix ในระบบ Drug delivery

– การประยุกต์ใช้ทฤษฎีฟังก์ชันความหนาแน่น (Density Functional Theory, DFT) เพื่อให้เข้าใจแง่มุมต่าง ๆ ของกระบวนการทางเคมีบนพื้นผิว เช่น การดูดซับโมเลกุล, กลไกการดูดซับ, เทอร์โมไดนามิกส์และไคเนติกส์ของปฏิกิริยาเคมี, ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงไฟฟ้าเคมี, ตัวเร่งปฏิกิริยา, รวมถึงคุณสมบัติเชิงโครงสร้างและคุณสมบัติเชิงอิเล็กทรอนิกส์ของวัสดุนาโนที่มีความทันสมัยและมีประโยชน์ทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม